วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

การปฏิรูปการบริหาราชการไทย




ในปี พ..2430 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แบบตะวันตก จัดการปฏิรูปการบริหาราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา)ซึ่งแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 3 พื้นที่ คือ เขตเหนือ เขตใต้ และเขตชายฝั่งทะเลตะวันออก การทำงานจึงเกิดการซ้ำซ้อนกัน โดยเฉพาะงานศาลยุติธรรม ทำให้เกิดปัญหามาก โดยเฉพาะกับคนตะวันตก การจัดระบบใหม่โดยทำการแบ่งหน้าที่เป็นเกณฑ์ แทนการแบ่งเป็นพื้นที่ ทรงจัดให้มีกรมต่างๆ ขึ้น 12 กรม ตามแบบตะวันตก ตั้งแต่ปี พ..2430 ไปเป็นเวลา 5 ปี ทรงจัดให้มีการทดลองระบบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยยึดหลักของ Max Weber เช่น การให้เสนาบดีมาสั่งราชการที่ออฟฟิศ ห้ามสั่งราชการที่บ้าน ทรงจัดให้มีเวลาราชการ ทรงจัดให้มีระบบสารบรรณหนังสือจะต้องมีการบันทึกเลขเข้าออก การทำงานต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ทรงทดลองจนถึงวันที่ 1 เมษายน 2435 จึงได้ยกฐานะกรมทั้ง 12 กรม ขึ้นเป็นกระทรวง 12 กระทรวง ตามหน้าที่ของตัวเอง วันที่ 1 เมษายน ของทุกปีจึงถือว่าเป็นวันข้าราชการพลเรือน โครงสร้างหลักของระบบราชการในรูปของกระทรวง ทบวง กรมตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 มายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงทุกวันนี้ ไทยได้ใช้วิธีการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมาตั้งแต่ปี พ.2437 กิจการของรัฐทั้งหมดต้องรายงานตรงต่อกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวเป็นการรวมศูนย์ สามารถสั่งการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็ว ปัจจุบันรายงานตรงเข้ากระทรวงที่มีถึง 15 กระทรวง 129 กรม 1800 กอง ของส่วนกลาง ทำให้การสั่งงานล่าช้ากว่าสมัยก่อนมากเพราะศูนย์รวมอำนาจกระจาย การแก้ปัญหาส่วนใหญ่จึงแก้ไม่ได้

ปัจจุบัน
แนวคิดการปรับปรุงระบบราชการไทย มีแนวคิดดังนี้
1.ต้องการเปลี่ยนจากรวมอำนาจ อำนาจกระจายศูนย์ โดยให้กระทรวง ทบวง กรม มอบอำนาจกลับมาให้จังหวัดทั้งหมด (Deconcentration)
2.งานสำคัญที่ท้องถิ่นทำได้ ให้กระจายมาให้ท้องถิ่นทำ (Decentralization)การที่จะทำได้ต้องมีการกระจาย 3 กระจาย คือ
2.1 กระจายคนลงมาที่ท้องถิ่น
2.2 กระจายเงินลงมาที่ท้องถิ่
2.3 กระจายงาน
3.การสละอำนาจ (Devolution)งานใดที่ท้องถิ่นสามารถทำได้ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไม่ควรทำ เช่น งานประปา
4.ลดระเบียบความเป็นราชการลง (Debureaucratization)เช่น จัดให้มีทางออกมากขึ้น จัดให้มีหน่วยเคลื่อนที่บริการประชาชน จัดให้มี One stop unit
5.กาเปิดระบบราชการเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตย (Democratization)เป็นการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ควรให้มีการตั้งคณะกรรมการประชาชน โรงพักทุกโรงควรมีคณะกรรมการประชาชน จังหวัดควรมีคณะกรรมการประชาคมจังหวัด เป็นตัวแทนจากทุกหมู่เหล่าเปลี่ยนจากนิติรัฐให้เป็นประชารัฐ เปลี่ยนการประเมินผลให้เป็นระบบเปิด จัดให้มีสัญญาประชาคม
6.การจัดให้มีระบบมาตรฐานภาครัฐ (Public sector standard management system and outcome – PSO)เรื่องผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว เพื่อนำมาใช้แทน ISO ซึ่งไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายให้แก่ต่างประเทศสูงมาก
7.การลดขนาดภาครัฐ (Down sizing)
7.1 โครงการเกษียณก่อนกำหนด โครงการนี้รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ได้กำหนดให้สิ้นสุดโครงการในปี 2544 (เริ่ม 2542)แม้ว่าจะไม่บรรลุตามเป้าหมายก็ตาม(แต่ในปัจจุบันนี้โครงการนี้ยังคงมีอยู่)
7.2 การบรรจุคนแทนอัตราเกษียณลดลงหรือไม่มีการบรรจุเพิ่มเลย กรณีนี้จะทำให้เกิดปัญหาการสูญเปล่า และเกิดช่องว่างระหว่างวัยในอนาคต 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น