วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รปศ.ในทศวรรตหน้า

Public Administration มีความหมายเป็น  2  นัยหรือ  2  ด้าน
Public Administration (PA) รัฐประศาสนศาสตร์ คือ ลักษณะวิชา (discipline) ที่เกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ
public (sector) administration (pa) บริหารรัฐกิจ เป็นกิจกรรม (activity) การบริหารงานภาครัฐ
รัฐประศาสนศาสตร์นับจากปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดตามบริบททางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เช่น เกิดทัศนะที่มองการบริหารรัฐกิจว่าควรยึดหลักต่างๆ อาทิ หลักการแยกการเมืองออกจากการบริหาร หลักการจัดองค์กรแบบราชการ หรือหลักวิทยาศาสตร์การจัดการ มาจวบจนถึงหลักการบริหารการจัดการที่เป็นหลักสากล สิ่งเหล่านี้ล้วนถูกท้าทายมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นของการขาดเอกลักษณ์ของรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานชิ้นสำคัญของ Herbert Simon ในงานที่มีชื่อว่า “Administrative Behavior” ในปี 1946 ซึ่งส่งผลกระทบต่อวงวิชาการทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์อย่างมาก และทำให้นักวิชาการทางด้านนี้เสื่อมความศรัทธาลงในประเด็นเรื่องความถูกต้องและความเหมาะสมต่อแนวคิดทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์แบบดั้งเดิม
การจัดการภาคราชการแต่เดิมอาศัยรูปแบบองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) ซึ่งไม่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นรูปแบบของภาคราชการในอนาคตอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากระบบราชการมีขนาดใหญ่ (Big Government) จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการหล่อเลี้ยงระบบก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการคลังตามมา อีกทั้งระบบราชการขาดประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ในขณะเดียวกันในโลกของนักปฏิบัติปัจจุบัน ในหลายประเทศกำลังดำเนินการปฏิรูประบบราชการตามแนวกระแสใหม่ของ paradigm ใหม่ของการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะมีปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านกระบวนทัศน์ของการบริหารปกครองดังกล่าว ได้แก่ สภาพการแข่งขันระหว่างประเทศและโลกาภิวัตน์ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ กระแสอนุรักษ์นิยม การต่อต้านรัฐบาลและการกระจายอำนาจ ความสำเร็จของระบบเศรษฐกิจเสรี และความล้มเหลวของระบบวางแผนและควบคุมเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์อำนาจหรือระบบสังคมนิยม ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลและระบบราชการ ตลอดจนความเข้มแข็งและการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจเอกชน ดังนั้น การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ก็ได้กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เกิดขึ้นตามมาจากแรงผลักดันของโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่ปรารถนาให้ระบบราชการต้องมีการปรับตัว
การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management หรือ NPM) คือ แนวคิดใหม่ทางการบริหารภาครัฐที่มีรากฐานมาจากเศรษฐศาสตร์ และการจัดการเอกชนมาปรับใช้ในองค์การภาครัฐ ให้ความสำคัญต่อสัมฤทธิผลของการบริหารจัดการ และความรับผิดชอบต่อผลงานของผู้บริหาร มีการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างชัดเจนในรูปตัวชี้วัดผลงาน (Key Performance Indicators : KPI) เพื่อทำการตรวจสอบและวัดผลสำเร็จและให้รางวัลตอบแทนตามผลงาน ในขณะเดียวกันจะพยายามให้ความมีอิสระและยืดหยุ่นทางด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะเรื่องของรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กรและการใช้ทรัพยากรทางการเงินและบุคลากร
การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) ชี้ให้เห็นถึงความไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารราชการ อันเนื่องมาจากการขาดความคล่องตัวทางการบริหารจัดการ มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับปัจจัยนำเข้า (Input) และกฎระเบียบ โดยพยายามหันมาให้ความสำคัญต่อการสร้างตัวชี้วัดผลสำเร็จของการบริหารจัดการ ทั้งในแง่ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ตลอดจนการสร้างความพึงพอใจในคุณภาพของการให้บริการประชาชน รวมทั้งนำเอาเทคนิควิธีการบริหารจัดการของภาคธุรกิจเอกชนที่ประสบความสำเร็จมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของรัฐ อาทิเช่น การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management - TQM) การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การจ่ายรางวัลค่าตอบแทนตามผลงาน (Performance-Related Pay) การตรวจสอบผลการดำเนินงาน (Performance Auditing) และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นต้น
การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) มีเป้าหมายในเรื่องของความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการบริหารการปกครองไปจากเดิม โดยพยายามลดบทบาทและจำกัดขนาดของรัฐบาล เช่น การโอนถ่ายไปสู่ระบบตลาดและภาคธุรกิจเอกชน การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีความทันสมัย การจัดตั้งองค์กรบริหารอิสระหรือองค์กรมหาชน การกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น และการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง การเสริมสร้างบทบาทของชุมชนและองค์กรอาสาสมัครที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพยายามเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลและระบบราชการจากเดิมที่เป็นผู้ปฏิบัติ และดำเนินงานเองโดยตรงไปสู่การเป็นผู้กำกับ ช่วยเหลือ ร่วมมือ สนับสนุนและส่งเสริมให้กลไกตลาด ภาคเอกชน องค์กรประชาสังคม ชุมชน และประชาชนสามารถเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการแทน อันจะนำไปสู่การโอนถ่ายภารกิจ การควบคุมและลดขนาดของภาครัฐให้เล็กลง (State Minimalism) การแปรรูปกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน (Privatization) การผ่อนคลายการควบคุม (Deregulation) การทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย (Legalization) รวมทั้งการลดขนาดและจำกัดบทบาทหน้าที่ของภาครัฐให้เล็กลงในท้ายที่สุด

หลักการของการจัดการภาครัฐแนวใหม่
NPM จะใช้การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ RBM เป็นเครื่องมือในการบริหาร RBM เป็นการเปรียบเทียบผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง กับเป้าหมายที่กำหนด โดยการประเมินผล อาศัยตัวชี้วัดสะท้อนผลงานออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อให้มีการปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลคุ้มค่า รวมถึงความรับผิดชอบต่อประชาชนผู้รับบริการ
RBM เป็นเครื่องมือการบริหารที่มาพร้อม NPM ที่คำนึงถึงประชาชนและผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้การทำงานภาครัฐ เน้นผลลัพธ์ของงานมากกว่าเน้นปัจจัย กระบวนการทำงาน และกฎระเบียบที่เคร่งครัดวัดผลเป็นรูปธรรม
RBM ให้ความสำคัญกับการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานชัดเจน วัดความก้าวหน้าได้ และต้องคุ้มค่าในการใช้ภาษี และงบประมาณแผ่นดิน
สาระสำคัญของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
1. การเปลี่ยนแปลงหลักการบริหารที่เน้น ผลผลิตและผลลัพธ์ แนวเก่าเน้นที่ทรัพยากรนำเข้า หรือทรัพยากรที่ใช้ในการบริหาร หรือกระบวนการทำงาน
2. การสร้างระบบการวัดผลงาน การกำหนดตัวชี้วัด และมาตรฐาน
3. มีโครงสร้างองค์การที่กะทัดรัด แบนราบ เป็นอิสระ แทนความใหญ่โต รุ่มร่าม
4. สร้างสายสัมพันธ์แบบสัญญา (จ้าง) มากกว่าสายการบังคับบัญชา
5. ใช้กลไกการตลาดในการจัดทำบริการสาธารณะ
6. เส้นแบ่งระหว่างภาครัฐและเอกชนไม่ชัดเจน เนื่องจากความสัมพันธ์แบบเป็นหุ้นส่วนมีมากขึ้น
7. ค่านิยม เช่น หลักสากล เสมอภาค มั่นคง ลดความสำคัญลงให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ
สรุปการบริหารภาครัฐของไทยในศตวรรษใหม่มีแนวโน้มในการปฏิบัติ 6 แนวทาง  คือ
1)      การกระจายอำนาจทางการบริหาร (Decentralization)
2)      การแปรสภาพกิจกรรมของรัฐเป็นกิจกรรมของเอกชน (Privatization)
3)      การนำระบบการประเมินผลแบบเปิดไปใช้ในหน่วยงานขอรัฐ (Democratization /Public Hearing)
4)      การปฏิรูปกฎหมายและระเบียบที่ล้าหลัง (Deregulation)
5)      การปฏิรูประบบงบประมาณ (Deconcentration)
6)      ปรัชญาการบริหารภาครัฐจะต้องทำลายการผูกขาดของรัฐ (Monopoly)

ถ้า อ.ถามว่าหน่วยงานของท่านนำ NPM มาใช้อย่างไรบ้าง ก็ให้ยกตัวอย่างเครื่องมือ เช่น การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management - TQM) การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การจ่ายรางวัลค่าตอบแทนตามผลงาน (Performance-Related Pay) I Balanced Scorecard (BSC), Benchmarking, Knowledge Management (KM), Good govermance, Results Based Managemant (RBM) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA),  KPI,  หลักสมรรถนะ. (Competency). เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะด้วยตัวแบบ

โครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันให้ชาวประมง

ความเป็นมา


     กลุ่ม A ได้แก่  กลุ่มเรือประมงขนาดใหญ่
     กลุ่ม B ได้แก่  กลุ่มเรือประมงขนาดเล็กหรือประมงพื้นบ้าน
     ผู้กำหนดนโยบาย ได้แก่ รัฐบาล

เมื่อเริ่มต้นโครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันให้ชาวประมง รัฐบาลได้อนุมัติโครงการน้ำมันเขียวจากแรงผลักดันของผู้ประกอบการประมงและ ต้องการแก้ไขปัญหาน้ำมันเถื่อนในทะเล ซึ่งโครงการดังกล่าวเกื้อกูลแก่เรือประมงขนาดใหญ่ เนื่องจากโดยทั่วไปเรือประมงดังกล่าวประกอบการอยู่ในทะเลลึกเป็น เวลานาน การมีสถานีบริการน้ำมันราคาถูกกลางทะเลจึงเป็นประโยชน์โดยตรง เพราะไม่ต้องเสียเวลากลับเข้าฝั่งเพื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิง ในทางตรงกันข้าม เรือประมงขนาดเล็ก ซึ่งประกอบการบริเวณใกล้ฝั่งจึงมีขีดจำกัด และไม่คุ้มค่าที่จะเดินทางไปใช้บริการในทะเลลึก จึงเรียกร้องเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล จึงเป็นแรงผลักดันทำให้รัฐบาลต้องอนุมัติโครงการน้ำมันม่วงเพื่อให้เกิดความ สมดุลในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง

3.  ตัวแบบกระบวนการ (Process Model)

1. จำแนกลักษณะปัญหา      รัฐบาลพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียกร้องของประชาชน
2.การจัดทำทางเลือกนโยบาย   โครงการน้ำมันเขียวรรัฐบาลมี  2  หนทางเลือก คือ นำเข้าน้ำมันดีเซลจากภายนอกมาจำหน่าย นำเข้าวัตถุดิบป้อนโรงงานกลั่นน้ำมันในประเทศและใช้มาตรการยกเว้นภาษี รัฐบาลเลือกทางเลือกที่ 2 เนื่องจากทางเลือกที่ 1 เป็นการดำเนินการในลักษณะเดียวกับน้ำมันเถื่อน
3. การให้ความเห็นชอบนโยบาย  ครม.มีมติ อนุมัติโครงการน้ำมันเขียว
4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ   รัฐบาลมอบหมายให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยให้กรมสรรพสามิตเป็นแกนหลัก
5.    การประเมินผลนโยบาย  ประเมินผลแล้วปรากฏว่าเรือประมงขนาดเล็กหรือประมงพื้นบ้านยังเดือดร้อน
เมื่อพบว่านโยบายยังมีข้อบกพร่องหรือปัญหาจึงมีการนำข้อบกพร่องหรือปัญหานั้นเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง
1.จำแนกลักษณะปัญหา      รัฐบาลพิจารณาปัญหาที่ยังเกิดขึ้นกับเรือประมงขนาดเล็ก
2.การจัดทำทางเลือกนโยบาย   โครงการน้ำมันม่วง โดย รัฐบาลอนุมัติ เงิน คชก. จำนวน 240 ล้านบาท
3.การให้ความเห็นชอบนโยบาย  ครม.มีมติ อนุมัติโครงการน้ำมันม่วง
4.การนำนโยบายไปปฏิบัติ   รัฐบาลมอบหมายให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยให้กรมประมงเป็นแกนหลัก
5.การประเมินผลนโยบาย  รัฐบาลประเมินว่าโครงการดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์จึงขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการจาก 7 กรกฎาคม 2553 เป็น 7 กุมภาพันธ์ 2554

4. ตัวแบบสถาบัน (Institutional Model)


Thomas R. Dye มีสาระสำคัญว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการทำหน้าที่ของสถาบันต่างๆ ที่เป็นทางการ ตัวแบบสถาบันนี้ถูกโจมตีว่าสนใจบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะเฉพาะสถาบันเท่านั้น นโยบายสาธารณะมาจากผลผลิตของสถาบันทางการเมือง โครงการแก้ไขปัญหาน้ำมันเรือประมงสามารถนำตัวแบบสถาบันมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ดังนี้


โครงการน้ำมันเขียว

ชาวประมง  ---------  รัฐบาล  ---------- กระทรวงการคลัง ----------- กรมสรรพาสามิต

โครงการน้ำมันม่วง

               ชาวประมงพื้นบ้าน ------------ รัฐบาล --------------- กระทรวงเกษตรฯ  ------------  กรมประมง


1. การ เปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันมีความพันพวนและเพิ่มขึ้นสูงมาก สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยจึงได้ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือบรรเทาความ เดือนร้อนของชาวประมงอันเนื่องมาจากราคานน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น แต่ในขณะที่ราคาสัตว์น้ำไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย
2. ครม.มีมติ อนุมัติโครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันให้ชาวประมง โดยอนุมัติเงินจากกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เป็นเงิน 240 ล้านบาท เพื่อชดเชยค่าน้ำมันให้แก่ชาวประมง ซึ่งได้เริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.2553 - 7 ก.ค.2553 และต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการจนถึง 7 ก.พ.2554
3.โครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันให้ชาวประมงประกอบด้วย 2 โครงการดังนี้
        3.1 โครงการน้ำมันเขียว เป็นการจำหน่ายน้ำมันสำหรับชาวประมงในทะเลบริเวณเขตต่อเนื่อง (12 - 24 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน) โดยเน้นช่วยเหลือเรือประมงขนาดใหญ่เป็นหลัก โครงการ ดังกล่าวรัฐบาลได้อนุมัติให้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งในขณะนั้นเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำมันเถื่อน เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลในต่างประเทศมีราคาถูกกว่าในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจึงอนุมัติให้นำเรือบรรทุกน้ำมันไปทำเป็นสถานีบริการกลางทะเล ได้แต่ต้องอยู่บริเวณเขตต่อเนื่อง สำหรับน้ำมันที่ใช้จำหน่ายรัฐบาลเป็นผู้จัดหาโดยให้ซื้อจากโรงกลั่นภายใน ประเทศโดยตรง ซึ่งน้ำมันดังกล่าวจะมีสีเขียว และมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับน้ำมันที่จำหน่ายบนบกทั่วไป และรัฐบาลได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีจากน้ำมันเขียว ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตร ภาษีกองทุนน้ำมัน และภาษีเทศบาล ทำให้ปัจจุบัน (พค.54) ราคาน้ำมันเขียวต่ำกว่าน้ำมันที่จำหน่ายบกบกทั่วไปลิตรละประมาณ 3.50 บาท
        3.2 โครงการน้ำมันม่วง เป็นการจำหน่ายน้ำมันสำหรับชาวประมง โดยบริการน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันชายฝั่งที่ได้รับอนุญาต เน้นช่วยเหลือเรือประมงขนาดเล็กหรือประมงพื้นบ้านเป็นหลัก เนื่องจากเรือประมงดังกล่าวมีข้อจำกัดในการใช้บริการจากโครงการน้ำมันเขียว สำหรับน้ำมันที่ใช้จำหน่าย รัฐบาลเป็นผู้จัดหาน้ำมันที่ราคากูกกว่าน้ำมันบนบกทั่วไปลิตรละ 1 บาท และใช้เงินจาก คชก.ช่วยเหลืออีก ลิตรละ 1 บาท ดังนั้นทำให้น้ำมันดังกล่าวซึ่งมีสีม่วงมีราคาถูกกว่าน้ำมันที่จำหน่ายบนบก ทั่วไปลิตรละ 2 บาท

วิเคราะห์ประเภทของนโยบายสาธารณะ
การช่วยเหลือ ราคาน้ำมันให้ชาวประมงของรัฐบาลเป็นนโยบายสาธารณะประเภทนโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ เนื่องจากเป็นการจัดสรรบริการหรือผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนบางส่วนอย่างเฉพาะ เจาะจง ซึ่งได้แก่ชาวประมง

วิเคราะห์โดยอาศัยตัวแบบ
1.  ตัวแบบเชิงระบบ (System Model)
ปัจจัยนำเข้า สภาพแวดล้อมที่อยู่ภายนอกระบบถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองในรูปของความต้องการ การเรียกร้อง ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่ การขอใช้รัฐบาลช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบอาชีพประมง อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่ในขณะที่ราคาสัตว์น้ำไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย

ระบบการเมือง ซึ่งได้แก่ ครม.ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงความต้องการ ด้วยกระบวนการปรับเปลี่ยน โดย ครม.ได้ตัดสินใจใช้มติ ครม.ตอบสนองความต้องการของชาวประมง
ผลของการตัดสินใจของระบบการเมือง เป็นนโยบายสาธารณะในกรณีนี้ได้แก่ โครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันให้ชาวปะมง ซึ่งประกอบด้วยโครงการน้ำมันเขียว และโครงการน้ำมันม่วง โดยมีหน่วยงานของรัฐบาลได้แก่ กรมสรรพสามิต และกรมประมง ดูแลรับผิดชอบ ตามลำดับ
สิ่งที่ป้อนกลับ  เมื่อนโยบายสาธารณะดังกล่าว ถูกนำไปปฏิบัติโดยหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบแล้วได้ส่งผลสะท้อนกลับไปสู่สภาพแวดล้อม ทำให้สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบอาชีพประมงและสามารถประกอบการ ประมงต่อไปได้

2.  ตัวแบบทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory)

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

เตรียมตัวสอบประมาลความรู้ (10 พฤษภาคม 2554)

ข้อสอบครั้งนี้คาดว่าน่าจะมี 2 เรื่องใหญ่ๆ

           1. รัฐประศาสนศาตร์  (ข้อนี้รายละเอียดค่อนข้างจะกว้างหน่อย)
           2. นโยบายสาธารณะ (ข้อนี้ต้องมี และจำเป็นต้องมีเพราะเป็นการเรียนสาขานโยบายสาธารณะ)

สิ่งที่ต้องเตรียมตัว
           1. ความพร้อมของร่างกาย และจิตใจ
           2. ศึกษาการวิเคราห์ข้อสอบทั้ง 2 เรื่อง
           3. ซ้อมเขียนให้มาก เมื่อเข้าห้องสอบจะได้สบายๆ
           4. ศึกษาเนื้อหาของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารภาครัฐแนวใหม่ ทั้งในตำราและปัจุบันที่มีการดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ฝึกวิจารณ์ และเสนอแนะไว้บ้าง เช่น ท่านมองการบริหารภาครัฐแนวใหม่ในอนาคตจะเป็นอย่างไร เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ฝึกสรุปไว้บ้าง เพราะการตอบคำถามที่ดีควรมีการสรุปปิดท้าย
           5. ศึกษาตัวแบบต่างๆ ของนโยบายสาธารณะ ศึกษานโยบายสาธารณะใหม่ๆ และนโยบายที่สำคัญๆ โดยเฉพาะนโยบายที่ใกล้ตัวประชาชนมากที่สุด เช่นที่ผ่านมา นโยบายเรียนฟรี 15 ปี นโยบายการแก้ไขหนี้นอกระบบ เป็นต้น สิ่งที่ต้องศึกษาไว้คือที่มาที่ไป หน่วยงานใดเข้ามาเกี่ยวข้องในขั้นตอนใด ที่สำคัญฝึกอธิบายโดยใช้ตัวแบบ การตอบคำถามควรจะใช้ตัวแบบไม่น้อยกว่า 2 ตัวแบบ

ส่วนรายละเอียดแบบเฉพาะเจาะจง ไว้ค่อยว่ากันใหม่



จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน