วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะด้วยตัวแบบ

โครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันให้ชาวประมง

ความเป็นมา


     กลุ่ม A ได้แก่  กลุ่มเรือประมงขนาดใหญ่
     กลุ่ม B ได้แก่  กลุ่มเรือประมงขนาดเล็กหรือประมงพื้นบ้าน
     ผู้กำหนดนโยบาย ได้แก่ รัฐบาล

เมื่อเริ่มต้นโครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันให้ชาวประมง รัฐบาลได้อนุมัติโครงการน้ำมันเขียวจากแรงผลักดันของผู้ประกอบการประมงและ ต้องการแก้ไขปัญหาน้ำมันเถื่อนในทะเล ซึ่งโครงการดังกล่าวเกื้อกูลแก่เรือประมงขนาดใหญ่ เนื่องจากโดยทั่วไปเรือประมงดังกล่าวประกอบการอยู่ในทะเลลึกเป็น เวลานาน การมีสถานีบริการน้ำมันราคาถูกกลางทะเลจึงเป็นประโยชน์โดยตรง เพราะไม่ต้องเสียเวลากลับเข้าฝั่งเพื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิง ในทางตรงกันข้าม เรือประมงขนาดเล็ก ซึ่งประกอบการบริเวณใกล้ฝั่งจึงมีขีดจำกัด และไม่คุ้มค่าที่จะเดินทางไปใช้บริการในทะเลลึก จึงเรียกร้องเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล จึงเป็นแรงผลักดันทำให้รัฐบาลต้องอนุมัติโครงการน้ำมันม่วงเพื่อให้เกิดความ สมดุลในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง

3.  ตัวแบบกระบวนการ (Process Model)

1. จำแนกลักษณะปัญหา      รัฐบาลพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียกร้องของประชาชน
2.การจัดทำทางเลือกนโยบาย   โครงการน้ำมันเขียวรรัฐบาลมี  2  หนทางเลือก คือ นำเข้าน้ำมันดีเซลจากภายนอกมาจำหน่าย นำเข้าวัตถุดิบป้อนโรงงานกลั่นน้ำมันในประเทศและใช้มาตรการยกเว้นภาษี รัฐบาลเลือกทางเลือกที่ 2 เนื่องจากทางเลือกที่ 1 เป็นการดำเนินการในลักษณะเดียวกับน้ำมันเถื่อน
3. การให้ความเห็นชอบนโยบาย  ครม.มีมติ อนุมัติโครงการน้ำมันเขียว
4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ   รัฐบาลมอบหมายให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยให้กรมสรรพสามิตเป็นแกนหลัก
5.    การประเมินผลนโยบาย  ประเมินผลแล้วปรากฏว่าเรือประมงขนาดเล็กหรือประมงพื้นบ้านยังเดือดร้อน
เมื่อพบว่านโยบายยังมีข้อบกพร่องหรือปัญหาจึงมีการนำข้อบกพร่องหรือปัญหานั้นเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง
1.จำแนกลักษณะปัญหา      รัฐบาลพิจารณาปัญหาที่ยังเกิดขึ้นกับเรือประมงขนาดเล็ก
2.การจัดทำทางเลือกนโยบาย   โครงการน้ำมันม่วง โดย รัฐบาลอนุมัติ เงิน คชก. จำนวน 240 ล้านบาท
3.การให้ความเห็นชอบนโยบาย  ครม.มีมติ อนุมัติโครงการน้ำมันม่วง
4.การนำนโยบายไปปฏิบัติ   รัฐบาลมอบหมายให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยให้กรมประมงเป็นแกนหลัก
5.การประเมินผลนโยบาย  รัฐบาลประเมินว่าโครงการดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์จึงขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการจาก 7 กรกฎาคม 2553 เป็น 7 กุมภาพันธ์ 2554

4. ตัวแบบสถาบัน (Institutional Model)


Thomas R. Dye มีสาระสำคัญว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการทำหน้าที่ของสถาบันต่างๆ ที่เป็นทางการ ตัวแบบสถาบันนี้ถูกโจมตีว่าสนใจบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะเฉพาะสถาบันเท่านั้น นโยบายสาธารณะมาจากผลผลิตของสถาบันทางการเมือง โครงการแก้ไขปัญหาน้ำมันเรือประมงสามารถนำตัวแบบสถาบันมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ดังนี้


โครงการน้ำมันเขียว

ชาวประมง  ---------  รัฐบาล  ---------- กระทรวงการคลัง ----------- กรมสรรพาสามิต

โครงการน้ำมันม่วง

               ชาวประมงพื้นบ้าน ------------ รัฐบาล --------------- กระทรวงเกษตรฯ  ------------  กรมประมง


1. การ เปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันมีความพันพวนและเพิ่มขึ้นสูงมาก สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยจึงได้ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือบรรเทาความ เดือนร้อนของชาวประมงอันเนื่องมาจากราคานน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น แต่ในขณะที่ราคาสัตว์น้ำไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย
2. ครม.มีมติ อนุมัติโครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันให้ชาวประมง โดยอนุมัติเงินจากกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เป็นเงิน 240 ล้านบาท เพื่อชดเชยค่าน้ำมันให้แก่ชาวประมง ซึ่งได้เริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.2553 - 7 ก.ค.2553 และต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการจนถึง 7 ก.พ.2554
3.โครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันให้ชาวประมงประกอบด้วย 2 โครงการดังนี้
        3.1 โครงการน้ำมันเขียว เป็นการจำหน่ายน้ำมันสำหรับชาวประมงในทะเลบริเวณเขตต่อเนื่อง (12 - 24 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน) โดยเน้นช่วยเหลือเรือประมงขนาดใหญ่เป็นหลัก โครงการ ดังกล่าวรัฐบาลได้อนุมัติให้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งในขณะนั้นเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำมันเถื่อน เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลในต่างประเทศมีราคาถูกกว่าในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจึงอนุมัติให้นำเรือบรรทุกน้ำมันไปทำเป็นสถานีบริการกลางทะเล ได้แต่ต้องอยู่บริเวณเขตต่อเนื่อง สำหรับน้ำมันที่ใช้จำหน่ายรัฐบาลเป็นผู้จัดหาโดยให้ซื้อจากโรงกลั่นภายใน ประเทศโดยตรง ซึ่งน้ำมันดังกล่าวจะมีสีเขียว และมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับน้ำมันที่จำหน่ายบนบกทั่วไป และรัฐบาลได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีจากน้ำมันเขียว ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตร ภาษีกองทุนน้ำมัน และภาษีเทศบาล ทำให้ปัจจุบัน (พค.54) ราคาน้ำมันเขียวต่ำกว่าน้ำมันที่จำหน่ายบกบกทั่วไปลิตรละประมาณ 3.50 บาท
        3.2 โครงการน้ำมันม่วง เป็นการจำหน่ายน้ำมันสำหรับชาวประมง โดยบริการน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันชายฝั่งที่ได้รับอนุญาต เน้นช่วยเหลือเรือประมงขนาดเล็กหรือประมงพื้นบ้านเป็นหลัก เนื่องจากเรือประมงดังกล่าวมีข้อจำกัดในการใช้บริการจากโครงการน้ำมันเขียว สำหรับน้ำมันที่ใช้จำหน่าย รัฐบาลเป็นผู้จัดหาน้ำมันที่ราคากูกกว่าน้ำมันบนบกทั่วไปลิตรละ 1 บาท และใช้เงินจาก คชก.ช่วยเหลืออีก ลิตรละ 1 บาท ดังนั้นทำให้น้ำมันดังกล่าวซึ่งมีสีม่วงมีราคาถูกกว่าน้ำมันที่จำหน่ายบนบก ทั่วไปลิตรละ 2 บาท

วิเคราะห์ประเภทของนโยบายสาธารณะ
การช่วยเหลือ ราคาน้ำมันให้ชาวประมงของรัฐบาลเป็นนโยบายสาธารณะประเภทนโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ เนื่องจากเป็นการจัดสรรบริการหรือผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนบางส่วนอย่างเฉพาะ เจาะจง ซึ่งได้แก่ชาวประมง

วิเคราะห์โดยอาศัยตัวแบบ
1.  ตัวแบบเชิงระบบ (System Model)
ปัจจัยนำเข้า สภาพแวดล้อมที่อยู่ภายนอกระบบถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองในรูปของความต้องการ การเรียกร้อง ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่ การขอใช้รัฐบาลช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบอาชีพประมง อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แต่ในขณะที่ราคาสัตว์น้ำไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย

ระบบการเมือง ซึ่งได้แก่ ครม.ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงความต้องการ ด้วยกระบวนการปรับเปลี่ยน โดย ครม.ได้ตัดสินใจใช้มติ ครม.ตอบสนองความต้องการของชาวประมง
ผลของการตัดสินใจของระบบการเมือง เป็นนโยบายสาธารณะในกรณีนี้ได้แก่ โครงการช่วยเหลือราคาน้ำมันให้ชาวปะมง ซึ่งประกอบด้วยโครงการน้ำมันเขียว และโครงการน้ำมันม่วง โดยมีหน่วยงานของรัฐบาลได้แก่ กรมสรรพสามิต และกรมประมง ดูแลรับผิดชอบ ตามลำดับ
สิ่งที่ป้อนกลับ  เมื่อนโยบายสาธารณะดังกล่าว ถูกนำไปปฏิบัติโดยหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบแล้วได้ส่งผลสะท้อนกลับไปสู่สภาพแวดล้อม ทำให้สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบอาชีพประมงและสามารถประกอบการ ประมงต่อไปได้

2.  ตัวแบบทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory)

1 ความคิดเห็น:

  1. ตัวแบบสถาบันตัวสุดท้าย
    ชาวประมง ---- รัฐบาล ---- กระทรวงการคลัง ---- กรมสรรพาสามิต

    ที่ ----- ไว้ต้องเป็นลูกศร 2 เส้นคู่ (=) หัวกลับกัน

    ตอบลบ